บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
นำเสนอนวัตกรรมการเรียนการสอน
กลุ่มดิฉันได้ค้นคว้าและนำเสนอหัวข้อ
การนำเสนอนวัตกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มเพื่อนๆ
"การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL)"
Brain Based Learning คือ
การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์
โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10
ปี
Brain-Based Learning (BBL) เป็นการนำความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองไปใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย
สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล เซลล์สมองจะถูกสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 3-6 เดือนแรก จนถึง1เดือนก่อนคลอด
ช่วงนี้สมองบางส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกทำลายไปซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “พรุนนิ่ง(Pruniny)” และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเด็กเล็กและช่วงวัยรุ่น
ทั้งนี้หลักการพัฒนาเซลล์สมองขึ้นอยู่กับ
2 ส่วน คือ
1.ธรรมชาติที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษได้แก่ พันธุกรรม
2.สิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ เช่น อาหาร อารมณ์
การฝึกฝนใช้สมอง
การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีลักษณะส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองของเด็ก
เน้นการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด โดยสภาพของโรงเรียนจัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนบ้าน
มีห้องต่างๆ ที่บ้านควรมี เช่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น
มีห้องโถงใหญ่ที่จัดมุมการเรียนรู้ไว้ตอบสนองความต้องการของเด็ก ได้แก่
มุมฝึกประสาทสัมผัส มุมภาษา มุมคณิตศาสตร์ มุมดนตรี มุมศิลปะ
มุมที่จะสอนสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และมุมภูมิศาสตร์ เป็นต้น
ห้องนี้เปรียบเสมือนห้องทำงานของเด็ก จะมุ่งเน้นทางด้านสติปัญญา เด็กๆ
จะอยู่ในห้องนี้เพื่อทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
โดยมีเครื่องมือที่ออกแบบไว้สำหรับเด็กโดยเฉพาะ
ที่จะพัฒนาทางสติปัญญาเด็กมากกว่าการสอน เช่น เครื่องเรือน
ชุดรับแขกที่เหมาะสำหรับให้เด็กเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดสะดวก
มีโต๊ะหลายแบบทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลมทั้งเล็กทั้งใหญ่ ส่วนสื่อที่จัดไว้ที่มุมต่างๆในห้องนั้น
เป็นสื่อที่มอนเตสซอรี่ได้พัฒนาขึ้นมา จัดไว้เป็นชุดๆ ด้วย กัน
โดยให้แต่ละมุมเป็นเรื่องของการศึกษาแต่ละชุด โดยรอบๆ บ้านมีบริเวณให้เด็กได้เดิน
มีสวนให้เด็กได้นั่งพักและทำกิจกรรม เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
การเรียนการสอนแบบวอร์ลดอร์ฟ (Waldorf)
นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟมีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา
(Anthroposophy)โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner 1861-1925) ได้นำมาจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ด้วยการพัฒนากาย (Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ
(Spirit)ให้บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม
(Beauty) ความจริง (Truth) แนวคิดของมนุษยปรัชญาที่เป็นรากฐานสำคัญในการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ
เชื่อว่า เมื่อมองดูการเกิดและเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เราจะเห็นได้ว่า กาย (Body)
เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้ในโลก ส่วนจิตวิญญาณ (spirit) เป็นจิตเดิมแท้ของเด็กเองที่ มาจากโลกเบื้องบน และเชื่อมโยงกันด้วยวิญญาณ
(Soul) พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยให้การเชื่อมโยงนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกลม
กลืน ความสำคัญของครูในอนุบาลวอลดอร์ฟ จึงต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ
“เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood) และภาวะกึ่งฝัน (Dreamy
stated) ที่มีอยู่ในวัยเด็ก
การศึกษาจึงเสมือนการทำหน้าที่ปลุกให้เด็กค่อยๆตื่นขึ้นมาในโลก
หาวิธีเชื่อมโยงเด็กสู่โลกที่เขาได้ลงมาเกิด
ครูยังต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน
ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้
ตลอดจนพลังธรรมชาติของโลก คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ครูได้นำมาประสานในกิจกรรมต่างๆในอนุบาลวอลดอร์ฟอย่างมีศิลปะ
เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงของโลก
การเรียนการสอนแบบโครงการ (Project
Approach)
การสอนแบบโครงการ หมายถึง
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก
ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา
โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
การเรียนการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple
Intelligence)
พหุปัญญา (Multiple
Intelligences) หมายถึง ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์
ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า สามารถแสดงศักยภาพด้านใดออกมาบ้าง
เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความฉลาดให้เด็กในแต่ละด้านคือ ทำพื้นฐานการเรียนรู้ จดจำ
และเข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสที่ครบทั้ง 6 ช่องทาง ทั้งนี้ ผู้ใหญ่จำนวนมากเข้าใจว่า
เด็กเรียนรู้ผ่านตา (เห็นภาพ รูปทรง สี ตำแหน่ง ตัวหนังสือ ฯลฯ) กับหู (ได้ยินเสียง
รับคลื่น ฯลฯ) เท่านั้น จึงมักสอนลูกๆด้วยการชี้ชวนให้ดู สั่งสอนอบรม
(คือพูดให้ฟัง หรือ ปล่อยให้ดูทีวี ดูรายการสารคดี หรืออ่านหนังสือ ฯลฯ)
และมักละเลยการจัดประสบการณ์ที่จะให้ได้ครบทั้ง 6 ช่องทาง คือ การดมกลิ่น การรับรส
การรับความรู้สึก อุณหภูมิ รับสัมผัสผ่านผิวหนังทุกส่วนทั่วร่างกาย และความรู้
สึกภายใน (ตื่นเต้น ชอบ ไม่ชอบ กลัว วูบวาบ)
การเรียนการสอนแบบ STEM (STEM
Education)
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4
สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์
โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ
กับชีวิตจริงและการทำงาน
การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม
แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ
พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
ค้นคว้าเพิ่มเติม : การเรียนการสอนแบบ STEM (STEM Education)
ภาพการนำเสนอ
สาธิตการบริหารสมอง |
สาธิตการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ BBL |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น