วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2559



บันทึกการเรียนครั้งที่15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2559


คาบเรียนนี้เป็นการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาในการสอบสอนที่ผ่านมาและการสอบสอน 2 กลุ่มสุดท้าย

การพูดคุยระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษา : ปรึกษาหารือและพูดคุยกันเกี่ยวกับการสอบสอนที่ผ่านมาว่าพบปัญหาอะไรบ้าง โดยอาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาพูดถึงปัญหาหรือข้อผิดพลาดต่างๆในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แล้วอาจารย์ผู้สอนก็ได้ให้คำแนะนำและวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นค่ะ

การสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..เห็ด กิจกรรม Cooking เห็ดเข็มทองชุบแป้งทอด

คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- การเขียนแผ่นชาร์ทควรเน้นเป็นรูปภาพไม่ควรใช้ตัวหนังสือมากเกินไป
- ครูควรบอกขั้นตอนและวิธีการทำทีละขั้นตอน
- ควรใช้คำถาม ถามเด็กเรื่อยๆ เมื่อกำลังทำอาหารในแต่ละขั้นตอน


การสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ส้ม



คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- แก้ไขเนื้อหาในแผนการสอน
- ปรับปรุงแก้ไขการเคาะจังหวะในขั้นการทำกิจกรรมพื้นฐาน
- การสอนกิจกรรมในวันแรกควรสอดคล้องกับเนื้อหา

บันทึกการเรียนครั้งที่14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559


คาบเรียนนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์


กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..ยานพาหนะ
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- นิทานที่เล่ายังไม่สอดคล้องกับเนื้อหาในการสรุปความรู้
- ใน Mind Maping และการสอนขั้นนำควรสอดคล้องและโยงเข้าสู่ขั้นการสอนสัมพันธ์เนื้อหา



กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..ส้ม กิจกรรม Cooking น้ำส้มคั้น
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- อุปกรณ์และขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นควรอธิบายให้ละเอียดกว่านี้ เช่น น้ำส้มคั้น 1 แก้ว ใช้ส้มกี่ผล
- แผ่นชาร์ทขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นควรมีภาพประกอบ
- ขั้นตอนการสอน : 
   1. ถามเด็กว่าอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถใช้ทำอะไรได้
   2. ครูบอกว่าใช้ทำอะไรพร้อมสาธิตการทำ
   3. ให้เด็กออกมารับอุปกรณ์และวัตถุดิบ
   4. ให้เด็กสลับกันทำโดยแบ่งกลุ่มตามขั้นตอน
   5. ให้เด็กเล่าการทำงาน
   6. ให้เด็กแบ่งกันชิมอาหาร



กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..กล้วย กิจกรรม Cooking กล้วยเชื่อม
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- แผ่นชาร์ทส่วนผสมและอุปกรณ์การทำควรเน้นภาพ
- ขั้นตอนการทำควรบอกให้ละเอียดเช่น น้ำตาลทรายปริมาณ 1 ถ้วยตวง กล้วย 1 ลูกแบ่งเป็น 4 ส่วน เราจะได้สอนเรื่องคณิตศาสตร์
- ในระหว่างขั้นตอนการทำควรถามคำถามเด็กไปด้วย เช่น ถ้าใส่กล้วยลงไปในน้ำตาลจะเกิดอะไรขึ้น? 
- ควรแบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกให้ทำขั้นตอนการเชื่อมกล้วย กลุ่มที่สอง ให้หั่นกล้วย และกลุ่มสุดท้ายให้ทดลองเชื่อมกล้วย



กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..ผีเสื้อ กิจกรรม Cooking ขนมปังปิ้งตกแต่งหน้าผีเสื้อ
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- ตารางส่วนผสมและอุปกรณ์ควรทำเป็นช่องแจกแจงชัดเจน ไม่เขียนประโยคเบียดกันมาก
- ใช้คำถาม ถามเด็กในแต่ละขั้นตอน เช่น ถ้าเรานำขนมปังไปปิ้งจะเปลี่ยนสีหรือไม่? และถ้าเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นสีอะไร? มีกลิ่นยังไง?

บันทึกการเรียนครั้งที่13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2559


คาบเรียนนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..เห็ด
- ตัวหนังสือในแผ่นชาร์ทควรเป็นตัวหนังสือที่มีขนาดใหญ่
- ข้อควรระวังและการสังเกตเห็ดพิัษคือจะมีสีสันสวยงาม ระวังและห้ามรับประทาน
- เนื้อเรื่องในนิทานควรมีบทสนทนากัน


ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..ผีเสื้อ
- เนื้อเรื่องในนิทานควรบอกประโยชน์ของผีเสื้อเพิ่มเติม
- ควรมีภาพผีเสื้อประกอบการสอน


ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..ส้ม
- แก้ไขเนื้อหาในแผนการสอน
- เมื่อสอนถึงขึ้นเปรียบเทียบจำนวน ให้เด็กเปรียบเทียบจำนวนโดยการจับคู่ 1:1 


ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..ยานพาหนะ
- ควรเพิ่มเติมเนื้อหา โดยการถามเด็กว่า ยานพาหนะมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง
- เพิ่มเติมเนื้อหาประโยชน์ของอาชีพที่่เกี่ยวข้องว่าสามารถประกอบอาชีพอะไรได้อีกบ้าง



บันทึกการเรียนครั้งที่12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559

คาบเรียนนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..เห็ด

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..เห็ด เรื่องขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมพื้นฐานอาจให้เด็กกระโดดก็ได้
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูควรเขียนแผ่นชาร์ตที่เน้นภาพและอธิบายสั้นๆให้เด็กเข้าใจง่าย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..ผัก เรื่องวิธีการเลือกซื้อผัก

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยผัก เรื่องประโยชน์ของผัก
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- การสอนวิธีการเลือกซื้อผัก ควรสอนวิธีการเลือกซื้อให้ตรงกับเนื้อหาในสาระการเรียนรู้
- การสอนประโยชน์ของผัก ควรบอกประโยชน์และข้อควรระวังในนิทานให้ได้มากกว่านี้และปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในแผน

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ยานพาหนะ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..ยานพาหนะ เรื่องวิธีการดูแลรักษา
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ควรสอนให้ตรงตามเนื้อหาในส่วนของสาระการเรียนรู้


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..กล้วย
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรสอนเนื้อหาให้ตรงกับสาระการเรียนรู้


กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..ผีเสื้อ เรื่องวงจรชีวิตผีเสื้อ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ผีเสื้อ
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- แก้ไขเนื้อหา คือ หนอนเป็นสัตว์กินพืชคือกินใบไม้ จะไม่ถึงขึ้นทำลาย


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ส้ม
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ได้เขียนไว้ในแผนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559



คาบเรียนนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..เห็ด
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- กิจกรรมพื้นฐานอาจให้เด็กเดินโดยเขย่งปลายเท้า หรือสคริปก็ได้

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ผีเสื้อ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ผีเสื้อ
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- ครูควรเคาะจังหวะพื้นฐานก่อนค่อยบอกคำสั่งต่อไปให้เด็กฟัง

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ส้ม
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- ควรสอนกิจกรรมให้ตรงตามเนื้อหามากกว่านี้

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..กล้วย

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..กล้วย
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน
- ควรปรับปรุงการสอนกิจกรรมพื้นฐานให้เหมาะสม

คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..ผักสดสะอาด
- การเขียนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในส่วนของสาระการเรียนรู้ควรเขียนเนื้อหาให้ตรงกับที่สอนในกิจกรรม


บันทึกการเรียนครั้งที่10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2559


คาบเรียนนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ภาพกิจกรรม


กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วย..ผักสดสะอาด
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ผักสดสะอาด
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..ผักสดสะอาด
- แก้ไขการเขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ส่วนสาระที่ควรเรียนรู้ ควรใส่เนื้อหาสอดคล้องกับที่สอน
- แก้ไขการเขียนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะส่วนกิจกรรมพื้นฐานให้เหมาะสม

กิจกรรมเสริมประสบการณ์หน่วย..ผีเสื้อ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ผีเสื้อ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..กล้วย

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..กล้วย
คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน หน่วย..กล้วย
- ภาพกล้วยควรใช้ภาพเป็นผลไม่ควรใช้เป็นภาพหวีกล้วย เพราะเมื่อให้เด็กนับจะเกิดการสับสน
- แก้ไขแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและการปฏิบัติให้ถูกต้อง

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..ยานพาหนะ

กิจกรรมการจัดประสบการณ์ หน่วย..ยานพาหนะ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วย..เห็ด
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย..เห็ด

คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอนในภาพรวม

- ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เราจะใช้การเดินแบบเขย่ง กระโดด หรือควบม้าก็ได้

บันทึกการเรียนครั้งที่9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2559


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากต้องขนของช่วยอาจารย์เพื่อย้ายไปตึกเรียนใหม่ค่ะ ^_^


บันทึกการเรียนครั้งที่8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559



คาบเรียนนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

ภาพกิจกรรม














คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน

การเขียนตารางเปรียบเทียบลักษณะ
                                

ชนิด
ลักษณะ
สี
ขนาด
รูปทรง
รูปร่าง
พื้นผิว
ส่วนประกอบ
กลิ่น
รสชาต




























- การสอนคำคล้องจองควรใช้สอนเรื่องชนิด (วันที่ 1) หรือเรื่องประโยชน์และข้อควรระวัง (วันที่ 4)
- ควรมีภาพประกอบการสอนหรือสื่อที่เป็นของจริง
- ถ้าใช้ภาพในการสอนควรตัดแล้วติดกระดาษแข็ง
- เลือกผักที่นำมาใช้สอนควรมีความแตกต่างกันชัดเจน เพื่อง่ายต่อการเปรียบเทียบความเหมือน ความต่างของลักษณะ

บันทึกการเรียนครั้งที่7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559



บันทึกการเรียนครั้งที่6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559


คาบเรียนนี้อาจารย์ผู้สอนได้สาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวพร้อมแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม

กิจกรรมพื้นฐาน : การเดิน การวิ่ง การก้าวกระโดด การทำท่าม้าวิ่ง การสคริป

กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา : การเคาะจังหวะดนตรี *อย่าใช้คำว่าสัญญาณ เพราะถ้าใช้คำว่าสัญญาณ อุปกรณ์นั้นจะเป็นนกหวีด  การสอนปฏิบัติตามคำสั่ง หรือการเป็นผู้นำผู้ตาม เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้ว 1 ครั้ง ควรให้เด็กทำกิจกรรมใหม่อีก 1 รอบ 
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวในส่วนของกิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา เราอาจมีเทคนิคอื่นๆสอดแทรกเข้าไปในการสอนได้ เช่น การสอดแทรกความรู้เรื่องจำนวน การจำแนก เป็นต้น

อ้างอิง : http://www.kukai.ac.th/Thai/project_approach_2014/Pre_1/AC_1_project_orenge_2.3/6.jpg
อ้างอิง : http://www.kukai.ac.th/Thai/activities_2015/C2/update_16-06-2014-kukai-school/9.jpg

บันทึกการเรียนครั้งที่5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559



คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ตรวจเนื้อหาหน่วยการสอนและได้แนะนำการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษา

คำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน

- WEB เนื้อหาควรมีเนื้อหาเพิ่มเติมเช่น ชนิดของผักควรใช้ชื่อผักที่สอดคล้องกับประเภทของผัก เพราะเมื่อเราทราบรายชื่อชนิดต่างๆของผักแล้ว เราจะได้แยกประเภทของผักได้เลย
- แผนการจัดประสบการณ์และแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรเขียนสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนในวันนั้น
- แก้ไขแผนการสอนการจัดประสบการณ์ในส่วนของขั้นนำ ให้เป็นกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจเด็ก

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก : ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมโดยการลงมือทำและให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเล่นอย่างอิสระ




บันทึกการเรียนครั้งที่4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559


คาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดหัวข้อการจัดการเรียนการสอนในหน่วยที่กลุ่มของตนเองสนใจและร่างเนื้อหาเป็น Mind Maping เพื่อเป็นเนื้อหาและแนวทางในการเขียนแผนการสอน

กลุ่มดิฉันได้คิดหัวข้อการสอน หน่วย ผักสดสะอาด 



มีเนื้อหาดังนี้

1. ชนิดของผัก เช่น กระเทียม ผักกาดขาว คะน้า ดอกโสน ดอกแค หอมแดง แตงกวา มะเขือ เป็นต้น

2. ประเภทของผัก
    2.1 ประเภทใบ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาดขาว
    2.2 ประเภทดอก เช่น ดอกโสน กะหล่ำดอก ดอกแค
    2.3 ประเภทผล เช่น มะเขือ ฟักทอง แตงกวา
    2.4 ประเภทหัว เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม หอมแดง

3. ลักษณะของผัก
    ส่วนประกอบ : ใบ ดอก ลำต้น ผล ราก
    กลิ่น : ฉุน หอม
    ผิว : ขรุขระ เรียบ
    ขนาด : เล็ก ใหญ่
    รูปทรง : ทรงกลม ทรงรี
    สี : เขียว เหลือง แดง ม่วง
    รสชาต : จืด เผ็ด ขม หวาน

4. ประโยชน์และข้อควรระวัง
    ประโยชน์
    4.1 ร่างกาย : ขับถ่ายง่าย ร่างกายแข็งแรง บำรุงสายตา
    4.2 อาชีพ : อาชีพเกษตรกร ค้าขายสร้างรายได้
    ข้อควรระวัง : รับประทานมากทำให้ท้องอืด

5. วิธีการเลือกซื้อ
    ประเภทใบ : ลำต้นอวบ ใบสีเขียวสด
    ประเภทดอก : ดอกรวมตัวกันแน่น ไม่เหี่ยว
    ประเภทผล : เนื้อแน่น ผิวไม่เหี่ยว
    ประเภทหัว : เนื้อแน่น ผิวเรียบ

บันทึกการเรียนครั้งที่3

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วิชา..การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559


นำเสนอนวัตกรรมการเรียนการสอน

กลุ่มดิฉันได้ค้นคว้าและนำเสนอหัวข้อ 


"การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL)"

Brain Based Learning คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี
Brain-Based  Learning (BBL) เป็นการนำความรู้   ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองไปใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้  ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล   เซลล์สมองจะถูกสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 3-6 เดือนแรก   จนถึง1เดือนก่อนคลอด   ช่วงนี้สมองบางส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกทำลายไปซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า  “พรุนนิ่ง(Pruniny)” และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเด็กเล็กและช่วงวัยรุ่น    ทั้งนี้หลักการพัฒนาเซลล์สมองขึ้นอยู่กับ  2 ส่วน คือ
1.ธรรมชาติที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษได้แก่  พันธุกรรม
2.สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น  อาหาร  อารมณ์  การฝึกฝนใช้สมอง




การนำเสนอนวัตกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มเพื่อนๆ

 การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีลักษณะส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองของเด็ก เน้นการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด โดยสภาพของโรงเรียนจัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนบ้าน มีห้องต่างๆ ที่บ้านควรมี เช่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น มีห้องโถงใหญ่ที่จัดมุมการเรียนรู้ไว้ตอบสนองความต้องการของเด็ก ได้แก่ มุมฝึกประสาทสัมผัส มุมภาษา มุมคณิตศาสตร์ มุมดนตรี มุมศิลปะ มุมที่จะสอนสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และมุมภูมิศาสตร์ เป็นต้น ห้องนี้เปรียบเสมือนห้องทำงานของเด็ก จะมุ่งเน้นทางด้านสติปัญญา เด็กๆ จะอยู่ในห้องนี้เพื่อทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ออกแบบไว้สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ที่จะพัฒนาทางสติปัญญาเด็กมากกว่าการสอน เช่น เครื่องเรือน ชุดรับแขกที่เหมาะสำหรับให้เด็กเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดสะดวก มีโต๊ะหลายแบบทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลมทั้งเล็กทั้งใหญ่ ส่วนสื่อที่จัดไว้ที่มุมต่างๆในห้องนั้น เป็นสื่อที่มอนเตสซอรี่ได้พัฒนาขึ้นมา จัดไว้เป็นชุดๆ ด้วย กัน โดยให้แต่ละมุมเป็นเรื่องของการศึกษาแต่ละชุด โดยรอบๆ บ้านมีบริเวณให้เด็กได้เดิน มีสวนให้เด็กได้นั่งพักและทำกิจกรรม เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก





 การเรียนการสอนแบบวอร์ลดอร์ฟ (Waldorf)
นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟมีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy)โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner 1861-1925) ได้นำมาจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย (Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ (Spirit)ให้บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม (Beauty) ความจริง (Truth) แนวคิดของมนุษยปรัชญาที่เป็นรากฐานสำคัญในการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ เชื่อว่า เมื่อมองดูการเกิดและเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เราจะเห็นได้ว่า กาย (Body) เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้ในโลก ส่วนจิตวิญญาณ (spirit) เป็นจิตเดิมแท้ของเด็กเองที่ มาจากโลกเบื้องบน และเชื่อมโยงกันด้วยวิญญาณ (Soul) พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยให้การเชื่อมโยงนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกลม กลืน ความสำคัญของครูในอนุบาลวอลดอร์ฟ จึงต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ “เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood) และภาวะกึ่งฝัน (Dreamy stated) ที่มีอยู่ในวัยเด็ก การศึกษาจึงเสมือนการทำหน้าที่ปลุกให้เด็กค่อยๆตื่นขึ้นมาในโลก หาวิธีเชื่อมโยงเด็กสู่โลกที่เขาได้ลงมาเกิด ครูยังต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ ตลอดจนพลังธรรมชาติของโลก คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ครูได้นำมาประสานในกิจกรรมต่างๆในอนุบาลวอลดอร์ฟอย่างมีศิลปะ เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงของโลก




การเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)

การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้




 การเรียนการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)

พหุปัญญา (Multiple Intelligences) หมายถึง ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์ ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า สามารถแสดงศักยภาพด้านใดออกมาบ้าง เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความฉลาดให้เด็กในแต่ละด้านคือ ทำพื้นฐานการเรียนรู้ จดจำ และเข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสที่ครบทั้ง 6 ช่องทาง ทั้งนี้ ผู้ใหญ่จำนวนมากเข้าใจว่า เด็กเรียนรู้ผ่านตา (เห็นภาพ รูปทรง สี ตำแหน่ง ตัวหนังสือ ฯลฯ) กับหู (ได้ยินเสียง รับคลื่น ฯลฯ) เท่านั้น จึงมักสอนลูกๆด้วยการชี้ชวนให้ดู สั่งสอนอบรม (คือพูดให้ฟัง หรือ ปล่อยให้ดูทีวี ดูรายการสารคดี หรืออ่านหนังสือ ฯลฯ) และมักละเลยการจัดประสบการณ์ที่จะให้ได้ครบทั้ง 6 ช่องทาง คือ การดมกลิ่น การรับรส การรับความรู้สึก อุณหภูมิ รับสัมผัสผ่านผิวหนังทุกส่วนทั่วร่างกาย และความรู้ สึกภายใน (ตื่นเต้น ชอบ ไม่ชอบ กลัว วูบวาบ)




 การเรียนการสอนแบบ STEM (STEM Education)

สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

ค้นคว้าเพิ่มเติม : การเรียนการสอนแบบ STEM (STEM Education)



ภาพการนำเสนอ

สาธิตการบริหารสมอง

สาธิตการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ BBL